SMART NEWS

คาดเศรษฐกิจเอเชียปี 2024 ขยายตัว 4.5% 28 มี.ค. 67 13:03 น.

สถานการณ์ในประเทศ

ส.อ.ท.เผยดัชนีเชื่อมั่นอุตสาหกรรมฯ ก.ค.ต่ำสุดในรอบ 7 เดือน

views

ส.อ.ท.เผยดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ก.ค.62 ต่ำสุดในรอบ 7 เดือน ผลกระทบส่งออกชะลอตัวจากสงครามการค้ายืดเยื้อ รวมถึงปัญหาภัยแล้งกระทบต่อกำลังซื้อ บวกกับยังไม่มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมา นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลงดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนสิงหาคม 2562 ว่า ดัชนีฯ ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 93.5 จากที่อยู่ในระดับ 94.5 ในเดือนมิถุนายน 2562 ต่ำสุดในรอบ 7 เดือน เพราะยังคงมีผลกระทบจากการชะลอของการส่งออกจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและสงครามการค้าระหว่างสหรัฐ-จีน รวมถึงปัญหาภัยแล้งที่กระทบต่อกำลังซื้อและการบริโภคในประเทศ ขณะที่ภาครัฐยังไม่มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมา ประกอบกับผู้ประกอบการมีความกังวลเกี่ยวกับการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำโดยเฉพาะผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) ที่จะต้องแบบรับต้นทุนที่สูงขึ้น ส่วนดัชนีฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 102.9 เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2562 ที่อยู่ระดับ 101.3 เนื่องจากผู้ประกอบการคาดว่าภาครัฐจะมีมาตรการเร่งด่วนในการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เกิดการใช้จ่ายและการบริโภคภายในประเทศ รวมทั้งการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐในช่วงที่เหลือของปีงบประมาณ 2562 อีกทั้งผู้ประกอบการเห็นว่าคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นเพื่อส่งมอบในช่วงปลายปี ขณะที่ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจการพบว่าผู้ประกอบการร้อยละ 70.6 ระบุว่าสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง รองลงมาร้อยละ 55.9 ความผันผวนอัตราแลกเปลี่ยน สถานการณ์เมืองในประเทศ ร้อยละ 51.4 ราคาน้ำมันร้อยละ 47.6 และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ร้อยละ 36.5 สำหรับข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ คือ ภาครัฐออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดการใช้จ่ายและการลงทุนในประเทศ และมาตรการช่วยเหลือเศรษฐกิจฐานรากรวมถึงเอสเอ็มอี นอกจากนี้ ควรเร่งเบิกจ่ายงบประมาณปี 2562 ในส่วนที่ยังล่าช้า เช่น โครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ เพื่อให้เม็ดเงินไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ นายจงสวัสดิ์ จงวัฒนผล รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์(นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจ "ความคาดหวังของภาคอุตสาหกรรมต่อรัฐบาลใหม่" ซึ่งนิด้าจัดทำร่วมกับ ส.อ.ท. วันที่ 5 -15 สิงหาคม 2562 ว่า ด้านเศรษฐกิจในประเทศ ผู้ประกอบการมีความคาดหวังมากที่สุด คือ รัฐบาลจะเร่งออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยมีสัดส่วนผู้ตอบมากถึงร้อยละ 68.86 ส่วนความคาดหวังรองลงมา คือ แก้ปัญหาปากท้องของประชาชน เพิ่มรายได้ กระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ มีสัดส่วนร้อยละ 58.61 ความคาดหวังอันดับ 3 คือ สร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศ ร้อยละ 43.22 เป็นต้น ด้านการส่งออก คาดหวังรัฐบาลขยายการส่งออก ส่งเสริมการค้า ด้านอุตสาหกรรม คาดหวังให้สร้างโอกาส สร้างตลาดให้กับสินค้าอุตสาหกรรมไทยมากขึ้นทั้งในและต่างประเทศ เป็นต้น

TW-headbar