SMART NEWS

ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ประชุมร่วมแก้ไขปัญหาการขนย้ายกากแคดเมียม 19 เม.ย. 67 11:04 น.

สถานการณ์ในประเทศ

"ปลาร้า" ต้องสุก! มีโปรตีนสูง กินคู่กับผัก แต่อย่ากินบ่อย

views

นายสง่า ดามาพงษ์ นักโภชนาการ และที่ปรึกษากรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ให้ความเห็น กรณีราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องกำหนดมาตรฐานสินค้าปลาร้าทั้งในเรื่องรสชาติ กลิ่น สี และความสะอาด ว่า ในด้านโภชนาการ ปลาร้าถือว่ามีคุณค่าทางโภชนาการสูง เพราะเป็นแหล่งโปรตีนชั้นดีเทียบเท่ากับเนื้อสัตว์อื่น ๆ จากการศึกษาพบว่า ปลาร้า 100 กรัม จะมีโปรตีนอยู่ถึง 15-20 กรัม นอกจากนี้ ยังมีสารอาหารอื่นๆ เช่น ฟอสฟอรัส แคลเซียม วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 และวิตามินเค แต่สิ่งที่ผู้บริโภคพึงปฏิบัติ คือ ต้องกินปลาร้าที่ปรุงสุกถึงจะได้โปรตีนมาก และลดความเสี่ยงเป็นมะเร็งท่อน้ำดี เพราะในปลาร้าดิบจะมีสารไนโตรซามีน ที่ก่อเซลล์มะเร็งในบางอวัยวะของร่างกาย และที่จะต้องระมัดระวัง คือ อย่ากินซ้ำซาก หรือกินบ่อย ๆ เพราะมีโซเดียมสูง กินมากจะมีผลต่อไต ทำให้ไตทำงานหนัก ดังนั้น ควรนำปลาร้ามาทำเป็นอาหารประเภทน้ำพริกกินกับผักชนิดต่าง ๆ ด้าน พญ.นภาพรรณ วิริยะอุตสาหกุล ผู้อำนวยการสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กล่าวเช่นกันว่า ต้องกินปลาร้าต้มสุก ไม่กินปลาร้าดิบที่หมักสด ๆ เพราะเสี่ยงท้องเสีย เนื่องจากมีสารจากการหมักของปลาร้า ในอดีตคนไทยทำปลาร้าโดยสาดเกลือหมักทิ้งไว้ ซึ่งใช้เวลานาน แต่ปัจจุบันมีเกลือไนไตรท์ เป็นเคมี จะไปทำปฏิกิริยากับปลาร้าจนเกิดเป็นไนโตรซามีน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งได้ จึงแนะนำว่าควรกินอาหารอย่างหลากหลาย อย่ากินซ้ำ ๆ และกินปลาร้าควรต้องกินผักแกล้มด้วย เพราะผักจะมีสารแอนติออกซิแดนท์ หรือสารต้านอนุมูลอิสระ จะมีคุณค่าทางอาหารไปในตัว อีกทั้งปลาร้ามีโซเดียมสูง กินมากจะไม่ดีต่อร่างกาย ประกอบกับไม่รู้ว่าปลาร้านั้นผสมผงชูรสหรือไม่ ตามหลักโภชนาการไม่ควรกินซ้ำ ๆ ควรกินอาหารที่หลากหลายเพื่อลดความเสี่ยงต่าง ๆ

TW-headbar