SMART NEWS

“โตโยต้า” พลาดเป้ายอดผลิตรถยนต์ทั่วโลก 25 เม.ย. 67 16:04 น.

กิจกรรม

บทความ จาก สทน. เรื่อง เครื่องโทคาแมค

views

บทความออนไลน์ โครงการเผยแพร่ข่าวสาร สทน. ปี 2561

เรื่อง เครื่องโทคาแมคเพื่องานวิจัยด้านนิวเคลียร์ฟิวชันและพลาสมาของประเทศ

เครื่องโทคาแมคเพื่องานวิจัยด้านนิวเคลียร์ฟิวชันและพลาสมาของประเทศสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทน.นำพลังงานนิวเคลียร์ฟิวชันซึ่งเป็นพลังงานสะอาดไม่ก่อให้เกิดกากกัมมันตรังสีเข้ามาใช้เพื่อพัฒนางานด้านต่างๆ ของประเทศแต่พลังงานดังกล่าวในระดับโลก
ยังอยู่ในขั้นตอนของการวิจัยและได้ลงนามความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย 15 มหาวิทยาลัยที่มีบุคลากรที่มีความสนใจด้านพลาสมาและนิวเคลียร์ฟิวชันหลังจากนั้นได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจกับสถาบันพลาสมาฟิสิกส์ หรือASIPP ประเทศจีน ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ศึกษาเรื่องพลาสมาและนิวเคลียร์ฟิวชัน
เพื่อแลกเปลี่ยนบุคลากรเพื่อการฝึกอบรมและการทำวิจัยร่วมมือกันในการพัฒนาห้องปฏิบัติการเพื่อการทำวิจัยด้านพลาสมาและการพัฒนาห้องปฏิบัติการด้านนิวเคลียร์ฟิวชันจากความร่วมมือดังกล่าว ASIPP ได้ลงนาม Donation Agreement ร่วมกับ สทน. และมอบเครื่องโทคาแมค
HT-6M ให้กับ สทน.

     เครื่องโทคาแมคHT-6M เป็นอุปกรณ์สำคัญในการกักเก็บพลาสมาด้วยสนามแม่เหล็กและเป็นอุปกรณ์สำคัญในการศึกษาวิจัยเรื่องพลังงานนิวเคลียร์ฟิวชั่นซึ่งเครื่องโทคาแมครุ่นนี้เป็นรุ่น 2 ที่ ASIPPได้พัฒนาขึ้นสำหรับแผนการหลังการรับมอบเครื่องประกอบด้วย 3 ระยะได้แก่
ระยะแรกเป็นการถอดแบบและศึกษาองค์ประกอบของเครื่องโทคาแมคและอุปกรณ์ประกอบเครื่องรวมถึงการศึกษาโครงสร้างอาคารและโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆของ สทน.เพื่อเตรียมการติดตั้งเครื่อง  ระยะที่ 2ไทยจะส่งเจ้าหน้าที่เข้ารับการถ่ายทอดองค์ความรู้พร้อมร่วมออกแบบและพัฒนาระบบประกอบ (subsystem)และประกอบเครื่องจนสามารถเดินเครื่องได้ และระยะที่ 3 เป็นการย้ายเครื่องกลับมาประเทศไทย ซึ่งทั้งสามระยะจะแล้วเสร็จภายในปี 2565 นอกจากนั้น สทน. และ ASIPPจะร่วมกันพัฒนาบุคลากรด้านพลาสมาและพลังงานฟิวชัน โดย ASIPP จะให้ทุนการศึกษานักศึกษาไทยไปศึกษาวิจัยต่อในหน่วยงานวิจัยทางเทคโนโลยีทีก้าวหน้าของโลก และให้โอกาสนักวิจัยไทยเข้าร่วมทำวิจัยโดยใช้เครื่องมือและห้องปฏิบัติการระดับโลกและจะร่วมสร้างห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีโทคาแมคเพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของไทยในระดับภูมิภาคต่อไปสำหรับประเทศไทยเมื่อมีการศึกษาวิจัยด้านพลาสมาและนิวเคลียร์ฟิวชันอย่างจริงจังแล้วก็จะสามารถนำพลาสม่าและนิวเคลียร์ฟิวชั่นไปใช้ประโยชน์ได้มากมายอาทิ ในเชิงเกษตรกรรมด้านอาหารที่มีส่วนช่วยในเรื่องของการฆ่าเชื้อโรคในอาหารและผลิตผลทางการเกษตร ในเชิงการแพทย์การประยุกต์เทคโนโลยีพลาสมามาไว้ในอุตสาหกรรมทางการแพทย์และสุขอนามัยโดยใช้พลาสมาในการบำบัดแผลติดเชื้อและแผลเรื้อรังพร้อมช่วยกระตุ้นการสร้างเส้นเลือดเนื้อเยื่อใหม่ หรือการรักษาผิวหน้าการรักษาแผลตลอดจนถึงการมีส่วนช่วยในเรื่องของการกำจัดขยะและของเสียอีกด้วยจะเห็นว่าโครงการนิวเคลียร์ฟิวชันและพลาสมานับเป็นจุดเริ่มต้นที่จะสามารถผลักดันประเทศไทยให้นำไปสู่ความทันสมัยในด้านต่างๆ.

TW-headbar